วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธุรกิจอัจฉริยะ (อังกฤษ: Business Intelligence - BI)

            Business Intelligence (BI)หรือระบบธุรกิจอัจฉริยะ เป็นระบบที่ใช้ในการพยากรณ์อนาคตของธุรกิจ ช่วยในการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ BI เป็นเหมือนฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในลักษณะที่เอื้อต่อการนำข้อมูลไปใช้ในสนับสนุนการตัดสินใจซึ่งจะประกอบไปด้วยระบบข้อมูล และโปรแกรมแอพพลิเคชั่นด้านการวิเคราะห์มากมายหลายระบบ องค์ประกอบสำคัญของ BI ได้แก่ คลังข้อมูล (Data Warehouse) ดาต้ามาร์ท (Data Mart) การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลหลายมิติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการนำไปวิเคราะห์และเป็นข้อมูลในการบริหาร สามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบมาใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของบริษัท ในปัจจุบันนี้โปรแกรมทางด้าน Business Intelligence มีให้เลือกหลายโปรแกรมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น IBM-COGNOS , Oracle
            ปัจจุบันการวางแผนทางกลยุทธ์ของบริษัทนั้นจำเป็นต้องใช้ข้อมูลมากมาย ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูล ทางด้านการตลาด การขาย การเงิน การผลิตนั้นจะต้องทันกับเหตุการณ์ซึ่งมีข้อมูลเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน การจัดทำรายงาน จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุง และมีความยุ่งยาก ดังนั้นหลายบริษัทจึงได้นำธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence)ซึ่งเป็นกลุ่มของซอฟต์แวร์ (Software) ที่นำข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลของงานในมุมมองต่าง ๆ ตามแต่ละแผนก เช่น วิเคราะห์การดำเนินงานของบริษัท เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนสำหรับผู้บริหาร วิเคราะห์และวางแผนการขาย การตลาด เพื่อประเมินช่องทางการจำหน่าย วิเคราะห์สินค้าที่ทำกำไรสูงสุดขาดทุนต่ำสุด เพื่อการวางแผนงานด้านการตลาดและการผลิต วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อยอดขายของสินค้า วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ซึ่งผู้ใช้สามารถถามตอบคำถามทางธุรกิจได้หลายมุมมองได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยการตัดสินใจแม่นยำ ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่หลากหลายภายในองค์กรมาทำการวิเคราะห์
การนำระบบธุรกิจอัจฉริยะไปใช้
  • การจัดทำประวัติของลูกค้า
  • การประเมินถึงสภาพของตลาด
  • การจัดกลุ่มของตลาด
  • การจัดลำดับทางด้านเครดิต
  • การเพิ่มความสามารถในกรทำกำไรของผลิตภัณฑ์
  • การจัดการความเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง
จุดเด่นของ Business Intelligence
  • สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่หลากหลายภายในองค์กรมาทำการวิเคราะห์ เช่น Excel, FoxPro, Dbase, Access โดยไม่มีการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมใดๆ
  • ใช้งานง่ายสะดวกสบาย เพียงแค่คลิกเมาส์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงรายงานได้โดยไม่ต้องมีการคีย์ข้อมูลใหม่
วัตถุประสงค์หลักของธุรกิจอัจฉริยะ
  1. ทำให้เจ้าของธุรกิจ ผู้บริหาร หรือพนักงานที่เกียวข้องสามารถเข้าถึงเข้ามูลได้ง่าย ช่วยให้สามารถวิเคราะ์และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
  2.  ธุรกิจอัจฉริยะช่วยเปลี่ยนสภาพ (transform) ข้อมูล (Data) ไปสู่สารสนเทศ (Information) และองค์ความรู้ (Knowledge) สุดท้ายทำให้ผู้ใช้สามารถติดสินทางธุรกิจได้ (Make Business Decision) อย่างชาญฉลาด แล้วนำไปปฏิบัติจนเกิดผล (Take Action)
  3. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กร
  4. ช่วยให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคหรือลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการหลักของธุรกิจอัจฉริยะ
  1. Decision Support
  2. Query Data
  3. Report
  4. OLAP
  5. Statistical Analysis
  6. Prediction
  7. Data Mining
สถาปัตยกรรมของธุรกิจอัจฉริยะ ประกอบด้วย
  1. คลังข้อมูล (Data Warehouse)
  2. เครื่องมือในการวิเคราะห์ทางธุรกิจ (Business Analytic Tools)
  3. การจัดการสมรรถนะทางธุรกิจ (Business Performance Management)
  4. ส่วนติดต่อประสานงานผู้ใช้ (User Interface)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น