วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตัวอย่างธุรกิจอัจฉริยะ

กลุ่มธุรกิจอุดมศึกษา (Higher Education)
       กลุ่มนี้จะมอบทางเลือกที่คุ้มค่าการลงทุนทั้งสถานศึกษา, บุคลากรและผู้เรียนมามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้สูงสุด ปัจจุบันสถานศึกษาจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการงบประมาณ แผนการปฏิบัติงาน กิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โซลูชั่นระบบธุรกิจอัจฉริยะที่เราพัฒนาขึ้นจะช่วยให้ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรของสถาบันได้รับประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างแนวทางการใช้งาน
  • ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรและบุคลากรด้วย KPI dashboard
  • ใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามผลการลงทะเบียนเรียนและแนวโน้มต่างๆเพื่อสามารถวางแผนทรัพยากรที่ต้องใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เป็นเครื่องมือในการติดตามการใช้งบประมาณ สถิติและรูปแบบการสนับสนุนทรัพย์ให้กับองค์กร
  • พัฒนา ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ของสถาบัน เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ใช้เป็นระบบจัดเก็บและแบ่งปันองค์ความรู้

บริษัท ทรูมูฟ จำกัด มหาชน
 
      ได้มีการใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะในการทำธุรกิจเช่น การติดต่อสื่อสารบริการลูกค้า การจัดซื้อเพ็กเก็จของลูกค้าที่ใช้ในระบบออนไลน์ และมีการวิเคราะห์ยอดการขายสินค้าหรือแพ็กเกจ การวิเคราะห์กำไรและรายได้ต่างๆของบริษัท วิเคราะห์แผนการตลาดต่างๆของบริษัทวิเคราะห์การเป็นไปของตลาดแวดล้อมอีกด้วย


บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)
        CAT Telecom ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำธุรกิจอัจฉริยะ ซึ่งกำลังกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในปัจจุบัน และช่วยให้สินค้าและบริการของ CAT Telecom สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด จึงได้ว่าจ้าง บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IRCP) และ บริษัท แซส ซอฟต์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด (SAS) ดำเนินโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล/เหมืองข้อมูล (Data Warehouse/Data Mining) โดยได้เริ่มโครงการฯ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีศูนย์กลางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของ CAT Telecom ทั้งข้อมูลจากแหล่งภายในและภายนอกองค์กร สนับสนุนการทำงานทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูลและการจัดทำรายงานข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการตัดสินใจ โดยมุ่งเน้นให้ระบบมีการทำงาน/ประมวลผลแบบอัตโนมัติมากที่สุด

        คลังข้อมูล คือ หลักการหรือวิธีการในการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งรวมถึงฐานข้อมูลระดับปฏิบัติการ (Operational Databases) จากทุกระบบงานภายในองค์กรที่อาจอยู่อย่างกระจัดกระจายและมีรูปแบบหลากหลาย โดยนำมาปรับให้เป็นฐานข้อมูลรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ทั้งองค์กรในการเรียกดูหรือสอบถามข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ตาราง รายงาน กราฟ ฯลฯ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป รวมทั้งยังใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับระบบสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร (Decision Support System; DSS) ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management; CRM) เป็นต้น

        นอกจากนี้ ยังสามารถนำข้อมูลจากคลังข้อมูลเข้าสู่กระบวนการของการทำเหมืองข้อมูล หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล (Knowledge Discovery in Databases; KDD) ซึ่งก็คือเทคนิคการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสกัดเอาความรู้ที่ซ่อนอยู่ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่และซับซ้อนดังกล่าว เพื่อให้ได้รูปแบบและความสัมพันธ์ (Patterns and Relationships) และกฎ (Rules) ที่มีความหมายใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ วางแผนและคาดการณ์การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ซึ่งสำหรับโครงการพัฒนา ระบบคลังข้อมูล/เหมืองข้อมูลของ CAT Telecom นั้น ครอบคลุมการดำเนินงาน 4 ด้าน ดังนี้
  1. การวิเคราะห์การใช้งานเครือข่าย (Network Usage Analysis): วิเคราะห์การใช้งานและการใช้ ประโยชน์เครือข่าย คุณภาพการให้บริการและสมรรถภาพของเครือข่าย รวมทั้งการจัดการความผิดพลาดของเครือข่ายสื่อสัญญาณ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนดำเนินงานภายในองค์กรตลอดจนปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้า
  2. การวิเคราะห์และพยากรณ์ด้านลูกค้าและการตลาด (Customer and Marketing): วิเคราะห์ประเมินผล และติดตามงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารลูกค้าและการตลาด เพื่อให้สามารถวางกลยุทธ์ในการนำเสนอสินค้า/บริการ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การวิเคราะห์ด้านการเงิน (Financial Analysis): วิเคราะห์ผลการดำเนินงานในลักษณะ What-if Analysis ฐานะ -การเงิน สัดส่วนและแนวโน้มของรายได้จากบริการต่างๆ และค่าใช้จ่ายเผยแพร่และส่งเสริมการตลาด รวมทั้งอัตราส่วนทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้องค์กรสามารถวางกลยุทธ์และบริหารจัดการด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. การวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินผลองค์กร (Balanced Scorecard): ประเมินผลและวิเคราะห์ประสิทธิภาพขององค์กรโดยรวมตั้งแต่ระดับภาพรวมองค์กรจนถึงระดับส่วนงาน รวมทั้งสร้างกระบวนการประเมินผลโดยเชื่อมโยงกับการกำหนดผลตอบแทน ดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (Key Performance Indicator ; KPI) และระบบบริหารความเสี่ยงขององค์กร เพื่อนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์และการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์

1 ความคิดเห็น:

  1. สรุปธุรกิจอัจฉริยะคือการทำธุรกิจผ่าน internet ใช่ป่ะคับ

    ตอบลบ